ทำไมการกลายเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล(Data-Driven Organization) ถึงได้มีความยาก
Introduction
หลายองค์กรได้ทำกิจกรรมมากมายที่เกี่ยวข้องกับการทำให้องค์กรมุ่งเป้าเป็น Data-Driven Organization เพื่อที่ให้พนักงานในองค์กรได้มีการนำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์ แล้วนำผลลัพธ์มาตัดสินใจกับงานของตนเองและธุรกิจในหน่วยงาน แต่องค์กรก็ยังประสบปัญหาในการเปลี่ยนแปลงและก็มีสาเหตุในการประสบปัญหาที่แตกต่างกันไป
Story
ปัจจุบันความท้าทายที่หนักที่สุดสำหรับกลยุทธ์ที่ทำให้องค์กรติดปัญหาการนำข้อมูลมาใช้ในการทำงานนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเริ่มวิเคราะห์ข้อมูล จากผลการสำรวจ NewVantage Partners Annual Survey ซึ่งสำรวจกลุ่มคนที่ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ, ผู้อำนวยการทางด้านข้อมูล เช่น CDO, CIMO และผู้ดูแลข้อมูลได้บอกกล่าวว่า สิ่งที่ท้าทายที่สุดคือ “การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการทำงานในองค์กร” ซึ่งเป็นปัญหาที่ทุกองค์กรเข้าใจปัญหาตรงนี้และพยายามเปลี่ยนแปลง แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงก็ไม่ได้ใช้เวลาข้ามคืนจนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ นอกจากนี้เองตัววัฒนธรรมและวิถีการทำงานในช่วงปีที่ผ่านมามี 2 สิ่งที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นมา
- โรคระบาดจาก COVID-19 และการเข้ามาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานที่กะทันหัน ซึ่งมันส่งผลให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของ Data ซึ่งมันส่งผลให้ความสำคัญในเรื่องนี้เห็นภาพชัดเจนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
- บริการ Self-Service เกิดขึ้นมาก ทำให้การใช้ข้อมูลและการเกิดข้อมูลมีมหาศาลมากแล้วข้อมูลก็มีการเป็น Decentralized มากขึ้น และข้อมูลก็เริ่มไหลจาก Social Media ที่จะส่งผลการทำวิเคราะห์แล้วนำไปใช้งาน ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นคือข้อมูลที่ไหลมาจะต้องมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
และสิ่งสุดท้ายเป็นสิ่งที่เรารู้กันคือข้อมูลมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นรูปแบบ Exponential และในปัจจุบันหลายองค์กรมีระบบประมวลผลที่มีประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ผลขนาดใหญ่ได้ดียิ่งขึ้น
Barrier of Becoming Data-Driven(กำแพง/สิ่งกีดขวางที่ทำให้องค์กรเป็น Data-Driven)
3 ตัวแปรหลักที่เป็นผลต่อการกลายเป็น Data-Driven ที่ปัจจุบันในองค์กรมีเพียง 26.5% ที่สามารถทำให้องค์กรกลายเป็น Data-Driven ได้สำเร็จ โดยทั่วไปก็มีสองอย่างสำหรับการขับเคลื่อนคือการให้ Inspiration กับการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในองค์กร ซึ่งแน่นอนว่า 91.9% ขององค์กรที่มีปัญหาในการขับเคลื่อนเป็น Data Driven ได้ก็คือ วัฒนธรรมในองค์กรโดยตรง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับองค์กรและ Chief Data Analytics Officer มาก ส่วนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ Data โดยตรงนั้นแม้ว่าจะมีข้อมูลมากมายมหาศาล มีเทคโนโลยีมาช่วยแปลผล เก็บข้อมูล ก็ยังไม่เทียบเท่ากับที่หลาย ๆ ในหน่วยงานขององค์กรไม่ได้เป็นเจ้าของและไม่สามารถนำข้อมูลมาใช้ได้
Step Companies Can Take (สิ่งที่องค์กรสามารถช่วยได้)
สิ่งที่องค์กรและผู้นำองค์กรจะช่วยให้องค์กรขับเคลื่อน จากประสบการณ์จะพบว่ามี 3 อย่างที่องค์กรต้องลงมือทำคือ
- คิดแตกต่าง(Think Different) ผู้นำย่อมรู้ว่าคนในองค์กรมี Mindset ที่แตกต่างกัน ซึ่งเราจะต้องใช้ความเข้าใจทางความคิดของคนในองค์กร โดยเฉพาะ Critical Thinking, Human Judgement หรือมุมมองการสร้างนวัตกรรม
มุมมองผู้แปล : มองว่าควรให้ทุกคนได้เห็นตัวอย่างที่ Match กับหน้างานแล้วนอกจากคิดแล้วเราต้องลงมือปัจจุบันแบบ Small Step
- พลาดให้ไว และเรียนรู้ให้ไว(Failed Fast, Learn Fast) การเกิดความรู้และคนสามารถทำได้นั้นจะต้องมีพื้นที่ให้คนในองค์กรได้ลองผิดลองถูกอยู่เสมอ เพื่อให้เราได้เรียนรู้ว่าสิ่งที่พลาดคืออะไร แล้วเราได้รับและเรียนรู้อะไรจากสิ่งที่พลาดแล้วนำมาปรับปรุง เพราะความผิดพลาดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ และทุกนวัตกรรมต่าง ๆ ก็ย่อมมีความผิดพลาดเป็นพื้นฐาน แต่เราต้องพลาดให้ไวและเรียนรู้ให้ไวเช่นกัน
มุมมองของคนแปล : เราควรใช้ Concept “Learning by Doing” แล้วในหน่วยงานทั้งเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างานควรเปิดโอกาสในลงมือทำ
- มองถึงผลระยะยาว(Focus on the Long-term) เราต้องมองไประยะยาวว่าการเปลี่ยนแปลงโดยการ Transform มันจะส่งผลอะไรที่ดีในระยะยาวสำหรับในตัวองค์กรเอง รวมไปถึงพนักงานในองค์กร
มุมมองของคนแปล : ในมุมมองตรงนี้ผู้บริหารจะต้องมีการสื่อสาร ให้การสนับสนุน ที่จะต้องลงไปทำความเข้าใจและความต้องการและฟังพนักงานในองค์กรแบบอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดภาพทางเดินที่เราจะไปทางเดียวกัน
ดังนั้นการที่องค์กรจะประสบความสำเร็จในการเป็น Data-Driven ในยุคนี้ได้นั้น ผู้นำองค์กร/ธุรกิจจะต้องเล่าประสบการณ์และความสำคัญของ Data-Driven ให้เชื่อมโยงกับการทำงานของเขาและสร้างความตระหนักให้เห็นความสำคัญที่ทุกคนได้รับการ Update ตลอดเวลาและต้องลงมือเปลียนแปลงกับเปิดใจยอมรับ
Source : https://reder.red/data-driven-strategy-saturdaystrategy-25-09-2021/