fbpx

5 ขั้นตอนในการสร้าง Data-Driven Mindset ภายในองค์กร

Achara Chaiyuchit
21 มี.ค. 22
1
แอดมินมีโอกาสไปอ่านบทความ บทความหนึ่งจาก Katalyst website ซึ่งเขียนถึงการสร้าง Data-Driven Mindset ซึ่งแอดมินมองว่ามีประโยชน์ และเหมาะบริบทของการจะก้าวเข้าสู่การเป็น Data Driven organization ของ SCG เรามาดูกันเถอะค่ะว่า การสร้าง Mindset เรื่อง Data Driven เราจะทำได้อย่างไร ยากง่ายแค่ไหน ไปดูกันค่ะ
เมื่อ Data กลายมาเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่ทำการตลาดตลอดจนถึงการบริหารองค์กร Data มีส่วนสำคัญในการตัดสินใจให้แม่นยำมากขึ้น ด้วยการเปลี่ยนจาก Decision Driven-Data มาเป็น Data-Driven Decision
Data-Driven Mindset คืออะไร
Data-Driven คือ การขับเคลื่อนหรือการดำเนินงานด้วยข้อมูลเป็นหลัก ทั้งการบริหารองค์กร การวางกลยุทธ์ และการทำการตลาด ซึ่งแนวคิดนี้ไม่จำกัดอยู่แค่การทำธุรกิจเท่านั้น แต่ยังสามารถปรับใช้ได้กับภาครัฐอีกด้วย เช่น การกำหนดนโยบายหรือการจัดการทรัพยากร
ส่วน Data-Driven Mindset คือ หลักวิธีคิดและแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเป็นหลักมากกว่าการใช้สัญชาตญาณและความรู้สึก เพื่อมาใช้แก้ไขปัญหาหรือวางแผนธุรกิจ ซึ่ง แนวคิดนี้เป็นสิ่งที่สร้างได้ผ่านการทำความเข้าใจ และการให้ความสำคัญของข้อมูล
 
 
The Secret to App Stickiness: Embedded Analytics - anteelo
5 ขั้นตอนในการสร้าง Data-Driven Mindset
สำหรับขั้นตอนการสร้าง Data-Driven Mindset มุ่งเน้นไปที่การสร้างวัฒนธรรมขององค์กรที่ผู้บริหารและพนักงานต่างมีแนวคิดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเหมือนกัน โดยการสร้าง Data-Driven Mindset มี 5 ขั้นตอนดังนี้
1. สร้าง Strategic Data-Driven Organization ที่ชัดเจน
กลยุทธ์เป็นสิ่งสำคัญในการเริ่มต้นสร้าง Data-Driven Mindset โดยควรเริ่มต้นจากการวางกลยุทธ์ที่ชัดเจน ซึ่งทุกคนในองค์กรควรเข้าใจกลยุทธ์ดังกล่าว เพื่อให้ทั้งองค์กรมองเห็นภาพร่วมกันและปฏิบัติไปในทางเดียวกัน สำหรับการตั้งกลยุทธ์เริ่มต้นด้วย 3 คำถามดังนี้
1. ปัญหาขององค์กรคืออะไร (What?-Problem definition framing)
2. ตั้งเป้าหมายในการนำ Data มาใช้ (Why?-Rational)
3. นำข้อมูลไปใช้ได้อย่างไร (How?-Activities)
เมื่อทราบปัญหาและเป้าหมายแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดคือการนำ Data ที่มีไปใช้งานเพื่อตอบสนองความต้องการ ดังนั้นจึงต้องตั้งคำถามก่อนว่าจากข้อมูลที่มีอยู่นั้น คุณสามารถนำไปใช้งานได้อย่างไร ด้วยวิธีไหนจึงได้ผลลัพธ์ที่ตรงตามความต้องการ
นอกจาก 3 คำถามข้างต้นแล้ว การสร้าง Strategic Data-Driven Organization มีองค์ประกอบที่สำคัญอีกหลายปัจจัย เช่น
แนวทางการตัดสินใจว่าจะนำข้อมูลมาใช้ในขั้นตอนไหนของการดำเนินงาน
แนวทางการกระจายข้อมูลให้กับหน่วยงานภายในองค์กร
แนวทางการสนับสนุนการนำข้อมูลมาใช้อย่างชัดเจนจากผู้บริหาร
ทั้งนี้ Strategic Data-Driven Organization เป็นสิ่งสำคัญในการสร้าง Data-Driven Mindset หากไม่มีกลยุทธ์ที่ชัดเจน ต่อให้มี Mindset ดีแค่ไหน ก็ตอบปัญหาไม่ตรงโจทย์อยู่ดี รากฐานความคิดในการใช้งานข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้
2. ใช้แนวความคิดในการสร้าง Data-Driven Mindset ที่เรียบง่ายแต่แข็งแกร่ง
เมื่อมีกลยุทธ์ในการทำ Data-Driven แล้ว ลำดับต่อมาคือ การใช้แนวความคิด (Concept) ในการสร้างชุดความคิด (Mindset) ที่เรียบง่ายให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจและปฏิบัติตามได้ แต่ทั้งนี้ในความเรียบง่ายนั้นต้องแฝงความแข็งแกร่งอยู่ภายใน
โดยความแข็งแกร่งภายใต้ Data-Driven Mindset นั้นหมายถึง ประสิทธิภาพในการใช้งาน หากความคิดที่เรียบง่าย ใช้งานสะดวกแต่ไม่มีประสิทธิภาพมากพอ ความเปลี่ยนแปลงขององค์กรก็จะไม่เกิดขึ้น
3. สร้าง Data-Driven Mindset ในระดับผู้บริหารองค์กร
การสร้างวัฒนธรรมหรือชุดความคิดในการขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูล ควรเริ่มต้นจากผู้บริหารองค์กร เนื่องจากพนักงานระดับดังกล่าวมีอำนาจในการตัดสินใจ รวมถึงมีอิทธิพลต่อการทำงานของพนักงานระดับอื่น เมื่อผู้มีอำนาจมีชุดความคิดที่ตัดสินใจด้วยข้อมูลเป็นหลัก วัฒนธรรมขององค์กรก็จะขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน
สำหรับวิธีการสร้าง Data-Driven Mindset ในระดับผู้บริหาร เริ่มต้นจากสร้างวัฒนธรรมในการตัดสินใจด้วยการใช้ข้อมูลเป็นหลัก (Data-Driven Decision) เชื่อมั่นในข้อมูลและแสดงให้พนักงานระดับอื่นเห็นถึงความสำคัญของข้อมูล เป็นต้น
4. สื่อสารกับทุกคนในองค์กรให้เข้าใจถึงความสำคัญของ Data
หลังจากสร้าง Data-Driven Mindset ในระดับผู้บริหารแล้ว ลำดับต่อมาคือ การสื่อสารกับทุกคนในองค์กรให้เข้าใจ โดยในการสื่อสารควรเริ่มต้นจาก การแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการมี Data-Driven Mindset ทั้งประโยชน์ของบริษัทและพนักงาน โดยเฉพาะในส่วนของพนักงานทั่วไปที่ต้องแสดงให้เห็นว่า Data เข้ามาช่วยเหลือพนักงานอย่างไร เช่น ช่วยให้ทำงานง่ายขึ้น หรือช่วยลดภาระงานที่ทับซ้อน เป็นต้
โดยการสื่อสารให้ทุกคนในองค์กรเห็นความสำคัญของ Data จะช่วยเพิ่มโอกาสให้กลยุทธ์ที่วางไว้ประสบความสำเร็จ เพราะกลยุทธ์จะสำเร็จได้ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกคนในองค์กร หากใครคนใดคนหนึ่งไม่เห็นความสำคัญของ Data เป้าหมายที่ตั้งไว้ก็สำเร็จได้ยาก
The New Leadership Mindset for Data & Analytics
5. เพิ่มเวลาฝึกฝนการใช้งาน Data
ไม่เพียงแค่ความเข้าใจเท่านั้น ในการสร้าง Data-Driven Mindset ต้องอาศัยการฝึกฝนอีกด้วย เพราะถ้าเข้าใจแต่ใช้งานไม่ได้ ก็ไม่เกิดประโยชน์ โดยแนวทางการฝึกฝนการใช้งาน Data มีดังนี้
ฝึกใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้พนักงานรู้วิธีการนำข้อมูลมาปรับใช้ การฝึกฝนจะทำให้เกิดความชำนาญในการใช้งาน สำหรับตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมีดังนี้ Power BI, Tableau และ Xplenty เป็นต้น
ฝึกวิเคราะห์ข้อมูล ฝึกให้พนักงานวิเคราะห์จนเป็นนิสัย โดยให้พนักงานอธิบายแนวทางการวิเคราะห์ของตัวเองก่อนตัดสินใจทำงาน
เปลี่ยนแนวทางการวิเคราะห์ จากในอดีตพนักงานจะมีหน้าที่รับฟังเพียงอย่างเดียว ปรับมาเป็นการร่วมกันวิเคราะห์ ให้ทีมมีส่วนร่วมในการเสนอทางเลือกด้วย
สำหรับใครที่อยากอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมดูตัวอย่างการสร้าง Data-Driven Mindset สามารถคลิ๊กอ่านเพิ่มเติมได้ที่ Link: KBank Katalyst | 5 ขั้นตอนในการสร้าง Data-Driven Mindset ภายในองค์กร (kasikornbank.com) แล้วแอดมินจะหาบทความสนุก ๆ มาให้อ่านกันอีกนะคะ พบกันใหม่ในบทความหน้าค่ะ J